“สิงห์ เอสเตท” พลิกเกมรับมือไวรัสโควิด-19 รอซื้อโรงแรม ที่ดินราคาถูก พร้อมเปิดโหมดรัดเข็มขัดหลังรายได้ในธุรกิจที่อยู่อาศัยชะลอตัว ธุรกิจโรงแรมเริ่มได้รับผลกระทบ เมื่อยุโรปปิดประเทศ
ตลอดระยะเวลา5ที่ผ่านมาของ “สิงห์ เอสเตท” บริษัทลูกในเครือบุญรอดบริวเวอรี่ หรือค่ายเบียร์สิงห์ ที่ได้มีมืออาชีพอย่าง “นริศ เชยกลิ่น” อดีตผู้บริหารระดับสูงจากกลุ่มซีพีเอ็น (เซ็นทรัลพัฒนา) เข้ามาบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เริ่มจากการเข้าซื้อกิจการของรสา พร็อพเพอร์ตี้ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็น สิงห์ เอสเตท พร้อมกับปักหมุดว่า จะเป็น “ โกลบอล โฮลดิ้งส์ คอมปะนี” ด้วยการซื้อกิจการ โรงแรม เพื่อเป็นเรือธงในการสร้างรายได้ โดยเฉพาะโรงแรมในยุโรป พร้อมกับการลงทุนอสังหาฯเพื่อขาย อสังหาฯเพื่อเช่า ล่าสุดมีแผนจะขยายมาไปสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน
โดยตั้งเป้าหมายว่า ภายในระยะ 5 ปีจากนี้จะมีรายได้ 30,000 ล้านบาท หลังจากประกาศแผนไปเมื่อวัน 30ม.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 กลับแพร่ระบาดและรุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เหนือความคาดหมาย
นริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า วิกฤติครั้งนี้เทียบกับวิกฤติปี2540 (ต้มยำกุ้ง) คนละแบบ ตอนปี2540 จะเห็นความเสียหายเยอะมากและเห็นเป็นรูปธรรม แต่ความเสียหายที่เกิดจากวิกฤติครั้งนี้ยังไม่เป็นรูปธรรมชัด และประเมินยากว่าจะมันจบเมื่อไร แต่ผลกระทบเป็นวงกว้างกว่าวิกฤติครั้งที่แล้ว
วิกฤติปี2540 จะกระจุกตัวในแวดวงการเงินส่วนใหญ่ แล้วค่อยมีผลกระทบไปที่คนตกงานบ้างอะไรบ้าง แต่ก็อยู่ในภาคการเงินเป็นหลักแต่วิกฤติคราวนี้ขยายวงกว้าง ไปกระทบที่กำลังซื้อ กระทบระบบสาธารณสุข ซึ่งไม่รู้ว่ามันจะจบเมื่อไรเนี่ย คือสิ่งที่แย่
จากประสบการณ์สายการเงิน “นริศ” บอกว่า สิงห์เอสเตท ได้ทำแบบจำลองการรับมือในทุกสถานการณ์ โดยมีการจำลองสถานการณ์กรณีที่เลวร้ายที่สุดว่า หากสถานการณ์ลากยาวไป 9 เดือนจะเกิดอะไรขึ้น เตรียมรับมือเรียบร้อยแล้วไม่ว่าจะเป็นกระแสเงินสด (Cash Flow) ก็ได้เตรียมไว้แล้ว โดยบางธุรกิจในเครือ ได้พูดคุยกับธนาคารและได้ปรับเปลี่ยนตัวเลขการชำระคืน รอดูอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นเรื่องปกติในภาวะวิกฤติทางสถาบันการเงินเห็นใจ และให้ความร่วมมือเพื่อให้เราผ่านวิกฤติไปด้วยกันได้
นริศ กล่าวว่า กรณีที่เลวร้ายที่สุด (worst case) คาดว่าใช้เวลาถึง 10 เดือนถึงสิ้นปี 2563 ในธุรกิจโรงแรมทั้งพอร์ตเฉลี่ยอัตราการเข้าพักประมาณ 50% จากปกติ 80% เราหวังว่าในไตรมาส 4 สถานการณ์น่าจะกลับมาดีขึ้น แต่ในไตรมาส2 จะแย่และ3 จะดีขึ้น ในส่วนของที่อยู่อาศัยก็ปรับตัวเลขลงทั้งยอดขายพรีเซล ยอดโอน ?ปัจจุบันได้รับผลกระทบน่าจะต้องปรับ? 20% ซึ่ง ไม่ใช่ เป้าหมายเดิมแล้ว แต่ถ้าสถานการณ์?แย่ลงลากยาวถึงปลายปี ต้องปรับถึง 40%
ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/872024?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=property